Category Archives: News

The International Conference on Combustion, Incineration/Pyrolysis, Emission and Climate Change (i-CIPEC) is an important conference focusing on thermal engineering and carbon reduction related research topics. The main target of this conference is building
a platform for the scientists and engineers to share their research output and experience. This conference began in Korea in the year 2000 and has since been routinely organized by different countries in the following years. i-CIPEC 2024 will be organized by
Universiti Teknologi Malaysia and co-organized by Malaysian Association of Research Scientists (MARS) and University of Seoul Korea, focusing on the theme of energy transition for net zero world.

Header

Conference Scope

Combustion    Conversion to Clean Energy

Waste-to-Energy Conversion    Emission Control (Air Pollution)

Global Warming and Green House Gases (GHGs)

Environmental Health Effect    Economy and Policy    Fire Safety

Important Dates

Abstract Submission Deadline
Notice of Acceptance Abstract
Full Paper Submission Deadline
Notice of Acceptance Full Paper
Camera Ready Copy Deadline
Early Bird Registration & Payment Deadline
Regular Registration & Payment Deadline
Conference Date

31st July 2024
31st August 2024
30th September 2024
31st October 2024
20th November 2024
15th November 2024
10th December 2024
18th – 20th December 2024

For more Information and Submissions.

Submit

 

Header

Brochure_Chachoengsao_RDF_ver2 Brochure_Chachoengsao_New MSW_ver2 

ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร โซนที่ 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานราชการ และหน่วยงานเอกชน นำขยะมูลฝอยเข้ามากำจัดภายในศูนย์กำจัดขยะฯ เฉลี่ยวันละ 150 ตัน บริหารจัดการโดยการจ้างแรงงานคัดแยกขยะมูลฝอยและจ้างเหมาบริการคัดแยกขยะมูลฝอยและฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ปัจจุบันปริมาณขยะมูลฝอยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตจังหวัดฉะเชิงเทราจะเข้าสู่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development) หรือ EEC แนวทางการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยดังกล่าว จึงต้องมีการบริหารจัดการอย่างครบวงจร และเป็นรูปธรรม ซึ่งตามพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ.2560 ซึ่งกำหนดให้มีการบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน โดยแนวคิดในการจัดการขยะมูลฝอยที่สำคัญ คือ การลดขยะมูลฝอยที่แหล่งกำเนิด นำกลับมาใช้ซ้ำและใช้ประโยชน์ใหม่ เพื่อให้เกิดการจัดการขยะมูลฝอยอย่างยั่งยืนส่วนขยะมูลฝอยที่เหลือจากการคัดแยกนำไปใช้ประโยชน์ใหม่ จะส่งเสริมให้นำไปแปรรูปผลิตพลังงานโดยส่งเสริมให้ภาคเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจมาลงทุน และองค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา มีความประสงค์ที่จะมอบหมายให้เอกชนบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร โซนที่ 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อจัดหาเอกชนที่มีความพร้อมและความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนก่อสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของศูนย์กำจัดขยะฯ ซึ่งในกระบวนการจัดหาเอกชนจะต้องจัดให้มีการศึกษาและวิเคราะห์โครงการดังกล่าว เพื่อวิเคราะห์ถึงปัญหาและอุปสรรคผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมพร้อมทั้งแนวทางในการป้องกันผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณศูนย์กำจัดขยะฯ

ดังนั้น องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา จึงมีความประสงค์จ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมการมอบหมายให้เอกชนบริหารจัดการขยะมูลฝอยภายในศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยรวมแบบครบวงจร โซนที่ 1 องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อศึกษาความเหมาะสมของการกำจัดขยะมูลฝอยด้วยระบบเตาเผาขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการวางแผนดำเนินการโครงการ ความคุ้มค่าการลงทุน และการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการดำเนินการโครงการ สำหรับการวางแผนแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของจังหวัดฉะเชิงเทราให้ถูกหลักสุขาภิบาล และป้องกันผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น อีกทั้งเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

hearing onlineframe

 

Header

           คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจัดตั้งกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐขึ้นในปี พ.ศ.2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในด้านเงินทุนให้กับเอสเอ็มอี (SMEs) พร้อมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ในช่วงปี พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาได้เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มข้นส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) และเพื่อเป็นบรรเทาผลกระทบดังกล่าว กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ที่เป็นลูกหนี้กองทุน ทั้งในด้านการเงิน เช่น การพักชำระหนี้เงินต้นสูงสุดเป็นระยะเวลา 1 ปี และการให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้กองทุน นอกจากนี้ในด้านที่ไม่ใช่การเงิน กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้เร่งพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ที่จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ที่เป็นลูกหนี้กองทุนได้เกิดการพัฒนา

           ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ได้กำหนดแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ที่ได้รับสินเชื่อแบบเฉพาะราย ภายใต้โครงการเสริมแกร่ง SMEs ที่ได้รับสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาด้านการตลาดสมัยใหม่ และด้านการเงินและการบัญชี โดยในเบื้องต้นมีผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ที่ได้รับสินเชื่อทั้งนี้เป็นรายที่อยู่ในระหว่างการพักชำระหนี้และรายที่ชำระหนี้ตามปกติ มีความประสงค์รับการส่งเสริมพัฒนากว่า 2,000 กิจการจากทั่วประเทศ ซึ่งกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ตั้งเป้าหมายว่าโครงการนี้จะสามารถช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ ซึ่งจะสามารถช่วยให้การผ่อนชำระหนี้กองทุนได้เป็นตามปกติ ลดปัญหาการเกิดหนี้เสีย (NPL) อีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1. เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) ที่ได้รับสินเชื่อกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้และการให้คำปรึกษาแนะนำ ด้านการตลาดสมัยใหม่ หรือด้านการเงินการบัญชี เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการเพิ่มศักยภาพธุรกิจได้

2. เพื่อช่วยรักษาการจ้างแรงงานในธุรกิจเอสเอ็มอี (SMEs) ที่ได้รับสินเชื่อจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ

Planing_SMEs2021-3

ดูรายละเอียดโครงการเพิ่มเติมได้ที่  : https://sites.google.com/view/smes2021

copenhill_Cover
Copenhill, the sports facility featuring a Neveplast ski slope located on the roof of the new waste-to-energy plant in the heart of Copenaghen, officially opened to the public on October 4th, 2019 . Special guest and Italian star Kristian Ghedina, from Cortina d’Ampezzo, attended the inauguration to ‘test’ the ski slope. The ski facility consists of three slopes of different difficulty levels, two conveyor belts, and a ski lift which provide an opportunity to enjoy skiing and snowboarding 365 days a year.

 

Copenhill5

Copenhill4

Copenhill2

 

ICHMT_21

The 8th International Symposium on Advances in Computational Heat Transfer, CHT-21, to take place in Rio de Janeiro, Brazil, during August 15 – 19, 2021.

Source: Rio Convention & Visitors Bureau, http://rcvb.com.br/

OBJECTIVE

The goal of the symposium is to provide a forum for the exchange of ideas, methods and results in computational heat transfer. Fundamental and applied papers will be welcome.

Topics will include but are not limited to:

  • Biological heat transfer
  • Boundary layer flow and heat transfer
  • Combustion and fire modelling
  • Computational methods
  • Double diffusive convection
  • Energy
  • Environmental heat transfer
  • Forced convection
  • Internal flow and heat transfer
  • Inverse problems
  • Materials processing and manufacturing
  • Micro and nanoscale heat transfer
  • Natural convection
  • Radiative heat transfer
  • Single and multiphase flow and heat transfer
  • Solidification and melting
  • Sustainability
  • Turbulent heat transfer
  • Turbulence modelling
  • Verification and Validation

SCIENTIFIC PROGRAMME

The scientific programme will consist of invited plenary and keynote lectures presented by internationally recognized researchers, contributed papers presented in oral or poster sessions, and panel discussions. In addition, an Open Forum session will give authors an opportunity to present new work or work in progress, which is not yet ready for review. Presentations on future directions or neglected problems in CHT will be particularly welcome. The G. de Vahl Davis Best Paper Award will be presented to the authors of the paper judged to be the best at the symposium.

ORGANIZERS AND SPONSORS

  • ICHMT – International Centre for Heat and Mass Transfer
  • ABCM – Brazilian Society of Mechanical Engineering and Sciences
  • Department of Mechanical Engineering, Politecnica/COPPE, Federal University of Rio de Janeiro
  • Department of Mechanical Engineering, Rutgers University
  • CAPES – Brazilian Foundation for the Advancement of Graduate Studies
  • CNPq – Brazilian Council for Scientific and Technological Development
  • FAPERJ – Foundation for Research Development of the State of Rio de Janeiro
  • ASTFE – American Society of Thermal and Fluids Engineers
Cover

รศ.ดร.สมรัฐ  เกิสุวรรณ หัวหน้าศูนย์วิจัยเผากากของเสีย  ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและการบิน-อวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เล่าให้ฟังว่า เตาเผาหน้ากากอนามัยใช้แล้วขนาดเล็กขยะติดเชื้อขนาดเล็ก ที่ใช้สำหรับเผาทำลายหน้ากากอนามัยและขยะติดเชื้ออื่น ๆ ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่ตอบโจทย์พลังงานสีเขียวของ มจพ. ได้ดี เป็นหนึ่งนโยบายแผนยุทธศาสตร์ของการเป็นมหาวิทยาลัยสีเขียว (Green University) ที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย มจพ. ได้ส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนในแต่ละส่วนของมหาวิทยาลัย ให้คำแนะนำ แก้ปัญหา เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการดำเนินการ  ที่ผ่านมา มจพ. ได้ขับเคลื่อนแผนต่าง ๆ สู่การดำเนินการในการจัดกิจกรรมและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เตาเผาหน้ากากอนามัยใช้แล้วขนาดเล็กฯ นี้เป็นการกำจัดขยะติดเชื้อ ณ แหล่งกำเนิด เนื่องจากหน้ากากอนามัยเป็นหนึ่งในวิถี New Normal ในปัจจุบัน ทำให้ไม่ต้องขนส่งขยะติดเชื้อเพื่อนำไปกำจัดนอกมหาวิทยาลัย “ลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างขนส่ง ลดภาระขององค์กรปกครองท้องถิ่นที่ต้องกำจัดขยะติดเชื้อ และเป็นการจัดการขยะมูลฝอยแบบเบ็ดเสร็จภายในรั้วของมหาวิทยาลัย”

ข่าว 6-10 ก.ค. 63_Page_1ข่าว 6-10 ก.ค. 63_Page_2

 

09658723-298D-4423-B331-7C9F05ADAF9B

infographic_camp5_resized-1-696x394

โรงไฟฟ้าขยะของเทศบาลนครขอนแก่นตั้งอยู่ที่ บ้านคำบอน ตำบลโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น เริ่มตั้งแต่ปี 2553 แต่ลงมือก่อสร้างหลังจากได้รับใบอนุญาตโรงงาน เมื่อปี 2558 โดยมีกำลังการผลิตไฟฟ้า 6.0 เมกะวัตต์ สามารถกำจัดขยะได้ถึง 450-600 ตัน/วัน สามารถกำจัดขยะเก่าที่หมักหมมให้หมดได้ภายใน 7 ปี ด้วยเทคโนโลยีการแปรรูปขยะมูลฝอยเป็นพลังงานไฟฟ้าแบบเผาตรงแล้วนำพลังงานความร้อนไปผลิตกระแสไฟฟ้าพร้อมมีระบบบำบัดมลภาวะทางอากาศ สามารถเผาขยะได้ทุกชนิดพร้อมกัน ทั้ง เศษไม้ กระดาษ พลาสติก ยาง ผ้าและเศษอาหาร จากทั้งขยะเก่าและใหม่รวมกัน

Banner_GoGreen_WIRC

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ขอเชิญผู้ประกอบการ OTOP ทั่วประเทศ สมัครเข้าร่วม “โครงการ OTOP ยั่งยืนด้วยการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ OTOP Go Green” ที่จะช่วยให้ท่านลดต้นทุนการผลิต เพิ่มยอดขาย และยกระดับเสริมสร้างคุณภาพ OTOP เพื่อเข้าสู่การแข่งขันในระดับสากล

สมัครฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ!!

BrochureGoGreenUpdate

Untitled-1

*** เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – ถึงวันที่ 26 มิถุนายน 2563***    สนใจคลิก!!

หรือ สอบถามรายละเอียดและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ โทร.  096-714-5258

www.facebook.com/otop.otechdownload

 

Banner0001

กิจกรรมดี สมัครฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย!!

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือขอเชิญผู้ประกอบการ OTOP ทั่วประเทศ  สมัครเข้าร่วมโครงการ “การให้คำปรึกษาแนะนำด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม (OTECH)” ลดค่าใช้จ่าย กระตุ้นยอดขาย เพิ่มช่องทางจำหน่ายผ่านระบบ online เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ OTOP ในสถานการณ์ปัจจุบัน

Brochure_DIP_OTECH_2020_Ver2

OTECH

*** เปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ -ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2563 ***    สนใจคลิก!!

หรือ สอบถามรายละเอียดและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ โทร.  096-714-5258

www.facebook.com/otop.otech19760

 

1

การจัดสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานการพัฒนาศักยภาพแก่วิสาหกิจชุมชนที่ได้รับการปรึกษาแนะนำเชิงลึกการพัฒนาการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “โครงการการให้คำปรึกษาแนะนำด้าน GREEN OTOPภายใต้โครงการขับเคลื่อนโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” โดย กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้จัดขึ้นเมื่อวันพุธ ที่ 11 กันยายน 2562ระหว่างเวลา 08.30-16.30 น. ณ ห้องปริชาติ ชั้น 3โรงแรม โกลเด้นทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพฯ โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 95คน รูปแบบการจัดสัมมนาในครั้งนี้แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ช่วง คือ ในช่วงเช้าเป็นพิธีเปิดโครงการฯ โดย นายจารุพันธุ์ จารโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และนายสุรพล ปลื้มใจผู้อำนวยการกองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เป็นผู้กล่าวรายงาน

โดยประธานในพิธีให้เกียรติมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ ให้แก่สถานประกอบการ OTOP ที่เข้าร่วมโครงการและมีผลการพัฒนาดีเด่น จำนวน 10 สถานประกอบการ และให้เกียรติมอบใบประกาศเกียรติคุณ ให้แก่สถานประกอบการ OTOP ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 74 สถานประกอบการ

DSCF5440 DSCF5442 DSCF5445 DSCF5471 DSCF5479 DSCF5486 DSCF5488 DSCF5491 DSCF5492 DSCF5539 DSCF5542 DSCF55532 3 4  5 6

โดยท่านสามารถเข้าดูข้อมูลต่างๆ ของโครงการได้ทีนี่

Capture